คดีอาญา
คดีอาญา คือ คดีที่มีการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น ได้เเก่ พ.ร.บ.ที่มีโทษทางอาญา เช่น พ.ร.บ.การพนัน พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯลฯ
โทษสำหรับลงเเก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
1) ประหารชีวิต
2) จำคุก
3) กักขัง
4) ปรับ
5) ริบทรัพย์สิน
คดีอาญาอาจเเบ่งได้ 2 ประเภท คือ ความผิดต่อเเผ่นดิน เเละความผิดต่อส่วนตัว ความผิดต่อส่วนตัวเป็นความผิดที่ยอมความได้ เช่น ยักยอก ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก หมิ่นประมาท เป็นต้น
บุคคลผู้เกี่ยวข้องในคดีอาญามีดังนี้
- ผู้เสียหาย หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง
- ผู้ต้องหา หมายความถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
- จำเลย หมายความถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
- พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
- พนักงานอัยการ หมายความถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการ หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา
เริ่มต้นด้วยผู้เสียหายเเจ้งความ(ร้องทุกข์)ต่อพนักงานสอบสวน หรือ เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองต่อศาล
- กรณีผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิดเเละรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
- กรณีผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ศาลจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนเสมอ "ไต่สวนมูลฟ้อง" หมายความถึง กระบวนไต่สวนของศาล เพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา คดีที่ผู้เสียหายนิยมเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองเพราะมีความรวดเร็ว ได้เเก่ คดีความผิดฐาน ยักยอก ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์ หมิ่นประมาท บุกรุก เช็คเด้ง
- ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
- สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
- สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
- ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
- หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ป.อ.มาตรา 96
เป็นโจทก์ฟ้อง คดีอาญา หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย
ถูกเเจ้งข้อกล่าวหาชั้นพนักงานสอบสวน
ทางสำนักงานของเรา ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ปรึกษาทนายณัฐวุฒิ อักษร Tel. 098-8275510
ติดต่อทางไลน์ เเอดไลน์ -> Line ID : lawyer37
-
คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง 7 ฉบับ ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 2. พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2549 3. พระราชบั...
-
ฉ้อโกง การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงมีอยู่ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือการหลอกลวงด้วยการเเสดงข้อความอันเป็นเท็จ กับอีกส่วนหนึ่งคือการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้เเจ้งเเละโดยการหลอกลวงนี้ได้ไปซึ...
-
ความผิด "ยักยอกทรัพย์" เป็นความผิดที่มีการพบบ่อยมาก ในการทำงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เช่นพนักงานเก็บเงิน พนักงานคลังสินค้า หรือการมอบหมายลักษณะตัวการ ตัวแทน หรือการฝากทรัพย์ ข้อเ...
-
ความผิดต่อร่างกาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ถึง 300 มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวา...