คดีครอบครัว

คดีครอบครัว ครอบครัวถือเป็นสังคมเล็กๆ สังคมหนึ่งของประเทศ การมีครอบครัวมีบุตรหลานสืบพันธุ์เป็นวิธีทางตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกชนชาติโดยมีพื้นฐานมาจากความรักความผูกพัน เมื่อยามความรักหวานชื่นความผูกพันเหนียวแน่นปัญหาอุปสรรคใหญ่ๆก็กลายเป็นเรื่องเล็กสามารถแก้ไขกันเองได้ภายในครอบครัวแต่เมื่อใดความรักจืดจางความผูกพันห่างเหินปัญหาเล็กๆก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ เกิดปัญหาข้อพิพาทหรือข้อโต้เเย้งในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สถานะของบุคคลในครอบครัว เเละสิทธิหน้าที่ของบุคคลต่างๆ รวมไปถึงความเกี่ยวพันด้านทรัพย์สิน จนไม่สามารถพูดคุยยุติปัญหากันเองภายในครอบครัวได้ ต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาล จึงต้องมีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ในครอบครัวเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการหาข้อยุติและแก้ไขปัญหาทางครอบครัว หรือเรียกอีกอย่างว่า "คดีครอบครัว"

ความหมายของ "คดีครอบครัว" ตามบริบทแห่งกฎหมายคดีครอบครัวหมายถึง คดีที่มีลักษณะเป็นข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งทางแพ่งหรือคดีที่ต้องมีการร้องขอต่อศาลเพื่อให้รับรองสิทธิหรือแสดงสิทธิบางเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิหน้าที่ระหว่างสามีภรรยาหรือบิดามารดากับบุตร แล้วแต่กรณีโดยความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว เริ่มตั้งแต่มาตรา 1435 ถึงมาตรา 1598/41 และคดีครอบครัวอย่างหมายถึงคดีที่เกี่ยวข้องกับสถานะความสามารถของบุคคลในครอบครัวหรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ ตามที่มีบัญญัติในกฎหมายเรื่องอื่นอีกบางเรื่อง

ลักษณะของคดีครอบครัว ลักษณะของคดีครอบครัวตามที่กฎหมายกำหนดไว้แบ่งตามหลักเกณฑ์สำคัญได้ดังนี้

1. คดีแพ่งที่เป็นไปตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัวทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การหมั้น และการผิดสัญญาหมั้น การสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา การสิ้นสุดแห่งการสมรส และขอแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่า การจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ อำนาจปกครองบุตร การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู การขอตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ การเปลี่ยนหรือถอนผู้ใช้อำนาจปกครอง การขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร การขอรับบุตรบุญธรรม และการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม

2. คดีแพ่งเกี่ยวกับผู้เยาว์ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถหรือสิทธิ์ของผู้เยาว์และคดีเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในครอบครัว เช่น การขอให้ศาลสั่งผู้เยาว์หรือบุคคลบรรลุนิติภาวะเเล้วเป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาล รวมถึงการขอให้ศาลสั่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้พิทักษ์ด้วย

3. คดีแพ่งบางเรื่องที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ ในส่วนเกี่ยวกับมรดก เช่น การขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองในกรณีที่ผู้เยาว์ซึ่งได้รับมรดกตกทอดยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม การขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองทรัพย์ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์ระหว่างที่ยังเป็นผู้เยาว์

ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัวคือ "ศาลเยาวชนและครอบครัว" ซึ่งหมายถึงศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด

เขตอำนาจศาลที่จะรับฟ้องคดีครอบครัว มีรายละเอียดพิจารณา 3 ประเด็นสำคัญ

1. การยื่นคำฟ้อง ต้องเสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่

2. การยื่นคำร้องขอ ต้องเสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาล 

3. การยื่นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาล

การจะนำหลักเขตอำนาจศาลใดมาปรับใช้ต้องพิจารณาอีกว่า คดีครอบครัวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นคดีครอบครัวเรื่องใด ประเภทใด ซึ่งบางครั้งหลักภูมิลำเนาจำเลย หลักมูลคดีเกิดหรือ หลักที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์ก็อาจเป็นเขตอำนาจของศาลเดียวกันหรือหลายศาลรวมถึงความสะดวกของผู้ยื่นคำฟ้องเเละคำร้องด้วย

 

เป็นโจทก์ฟ้อง คดีครอบครัว หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย

ต้องการยื่นคำร้อง คดีครอบครัว คัดค้านคำร้องคดีครอบครัว

ทางสำนักงานของเรา ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ปรึกษาทนายณัฐวุฒิ อักษร Tel. 098-8275510

ติดต่อทางไลน์ เเอดไลน์ -> Line ID : lawyer37 

 


  • จดทะเบียนรับรองบุตร.jpg
    การรับรองบุตร เนื่องจากกฎหมายถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงฝ่ายเดียวเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 ดังนั้นเด็กที่เกิดมาจึงเป็น...

  • การหย่า.jpg
    การฟ้องหย่าทั่วไป การสิ้นสุดการสมรส 1 ตาย 2 ศาลพิพากษาให้เพิกถอน เนื่องจากการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ 3 โดยการหย่า ซึ่งทำได้2วิธี 3.1 โดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยการทำเป็นหนังสือและมีพ...
Visitors: 64,134