คดีเเรงงาน
คดีเเรงงาน
กฎหมายเเรงงานหมายถึง กฎหมายที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างซึ่งมีต่อกันและต่อรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างองค์การของนายจ้าง องค์การของลูกจ้าง และรัฐด้วย
กฎหมายแรงงานที่สำคัญมี 7 ฉบับคือ
1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างเเรงงาน ซึ่งเรียกว่า "กฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างเเรงงาน"
2 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
3 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ซึ่งเรียกว่า "กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน"
4 พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่เรียกว่า"กฎหมายเงินทดแทน"
5 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ. ศ. 2518 ซึ่งเรียกว่า "กฎหมายแรงงานสัมพันธ์"
6 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเเรงงานเเละวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งเรียกว่า "กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงาน"
7 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเรียกว่า "กฎหมายประกันสังคม"
กฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน
เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิและหน้าที่โดยทั่วไปของนายจ้างและลูกจ้างที่มีต่อกันในฐานะคู่สัญญา กฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงานบัญญัติอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างเเรงงาน ซึ่งเรียกว่า มาตรา 575 ถึงมาครา 586 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2472 เป็นต้นมา
ขอบเขต
กฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกประเภท ทั้งหมดกิจการทั่วไป และวิสาหกิจ และลูกจ้างของทางราชการด้วย
เเต่!!ข้าราชการทั้งหลายมิใช่ลูกจ้างของกระทรวงทบวงกรมที่ตนสังกัด
ความสัมพันธ์ระหว่างกรม กระทรวง และข้าราชการในกรม กระทรวงนั้น มีขึ้นโดยกฎหมายปกครอง หาใช่มีขึ้นโดยกฎหมายแพ่งว่าด้วยเอกเทศสัญญา เช่นจ้างทำของ จ้างแรงงาน หรือตัวการตัวแทนไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2505
สิทธิของนายจ้าง
1 นายจ้างมีสิทธิมอบงานให้ลูกจ้างทำ ป.พ.พ. มาตรา 575
นายจ้างจะมอบงานให้ลูกจ้างทำงานหรือไม่ เป็นสิทธิของนายจ้าง เมื่อนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามปกติแล้ว การที่นายจ้างไม่มอบงานให้ลูกจ้างทำ ลูกจ้างหามีอำนาจบังคับให้นายจ้างมอบงานให้ทำไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2525
2 นายจ้างมีสิทธิ์ที่จะโอนความเป็นนายจ้างให้บุคคลอื่นได้ หากลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย ป.พ.พ. มาตรา 577
3 นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ถ้าลูกจ้างรับรองโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายว่าตนเป็นผู้มีฝีมือพิเศษแล้วปรากฏภายหลังว่าไร้เช่นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 578
4 นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ ถ้าลูกจ้างออกจากงานไปโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ไม่ครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ป.พ.พ. มาตรา 582
5 นายจ้างมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ถ้าลูกจ้างจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหาย หากลูกจ้างขัดคำสั่งระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2532 ฟ้องของโจทก์นายจ้างได้บรรยายถึงการที่ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับทำให้ข้าวเปลือกที่จอดรับฝากไว้ในคลังสินค้าขาดหายไปจำนวน 7,969.369 ตัน คิดเป็นเงิน 23,960,553.90 บาท ตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
6 นายจ้างมีสิทธิออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานได้ ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2525 ลูกจ้างเป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีไม่มีหน้าที่ต้องไปศาลการที่นายจ้างให้ลูกจ้างไปเบิกความที่ศาลแรงงานกลางจึงไม่เกี่ยวกับการทำงานไม่เป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2526 การที่ลูกจ้างแจ้งความชำนาญหรือความถนัดของตนในการสมัครงานและนายจ้างมีคำสั่งรับเข้าทำงานในแผนกใดแล้ว ไม่เป็นการผูกพันนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในแผนกนั้นตลอดไป หากต่อมามีความจำเป็น มีความเหมาะสม นายจ้างมีอำนาจย้ายลูกจ้างไปทำงานในแผนกอื่นในบริษัทเดียวกันโดยลูกจ้างคงได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมได้
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้ว จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
หน้าที่ของนายจ้าง
1 การจ่ายค่าจ้าง
ป.พ.พ. มาตรา 575 นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2525 การปิดโรงงานชั่วคราวเพราะน้ำท่วม ยังไม่พ้นวิสัยที่นายจ้างจะชำระหนี้ใช้ค่าจ้าง ถ้าลูกจ้างพร้อมที่จะทำงานให้ นายจ้างก็ยังต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2526 การหยุดกิจการชั่วคราว เพื่อซ่อมแซมโรงงานที่ถูกเพลิงไหม่ มิได้เป็นเหตุขัดขวางอย่างไรที่จะทำให้นายจ้างจ่ายสินจ้างไม่ได้ นายจ้างจึงต้องจ่ายสินจ้างให้ลูกจ้าง
2 การบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 582 สัญญาจ้างแรงงานนั้นได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างก็ไม่ต้องแจ้งหรือบอกล่วงหน้าแต่อย่างใด
ถ้าสัญญาจ้างเเรงงานนั้น มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ นายจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบก่อนที่จะได้เลิกสัญญา
เป็นโจทก์ฟ้อง คดีเเรงงาน หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย
ทางสำนักงานของเรา ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ปรึกษาทนายณัฐวุฒิ อักษร Tel. 098-8275510
ติดต่อทางไลน์ เเอดไลน์ -> Line ID : lawyer37